ข่าวประชาสัมพันธ์
ทำความรู้จัก “โทษทางพินัย”
2 ก.พ.64 ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เพื่อเป็นกฎหมายกลางในการพิจารณาและกำหนดมาตรการสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
“การปรับเป็นพินัย” คือ ผู้กระทำความผิดต้องชำระเงินค่าปรับตามที่กำหนด การปรับนั้นไม่ใช่โทษปรับทางอาญา ไม่มีการจำคุกหรือกักขังแทนการปรับ ไม่มีการบันทึกลงในประวัติอาชญากรรม
หากร่างกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ แล้วผู้กระทำผิดไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ ก็ยังมีทางเลือกให้ไป “ทำงานบริการสังคม” ชดใช้ความผิดแทน
แต่ถ้าผู้กระทำผิดไม่ได้มีปัญหาเงินทอง คัดค้านไม่ยอมจ่ายค่าปรับภายในกำหนด เจ้าหน้าที่จะส่งเรื่องและสำนวนให้อัยการฟ้องศาลจังหวัดพิพากษาชี้ขาด
***ตัวอย่างความผิดเล็กน้อยที่เป็นโทษอาญา ซึ่งเข้าข่ายความผิดทางพินัย ได้แก่ 
1. ไม่แสดงใบขับขี่ (ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท) 
2. สูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ (ปรับไม่เกินสองพันบาท) 
3. จอดรถขายผลไม้ริมถนนสาธารณะ (ปรับไม่เกินสองพันบาท) เป็นต้น
*** เมื่อกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ ประชาชนจะได้อะไร 
1. ได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิเสรีภาพ ความผิดทางอาญาจะบังคับใช้เฉพาะการกระทำความผิดที่ร้ายแรงเท่านั้น
2. ป้องกันการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินควร
3. สร้างความเป็นธรรมในสังคมและลดการทุจริต โดยเปลี่ยนความผิดร้ายแรงเป็นโทษปรับทางพินัย
4. ไม่มีการกักขังแทนค่าปรับ ไม่ต้องประกันตัว และไม่มีการบันทึกประวัติอาชญากรรม ให้คุกมีไว้ขังคนทำผิดร้ายแรงเท่านั้น
สอบถาม