วัดและพระเกจิอาจารย์
พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ ฐิตสทฺโธ ( ผูก จันทราศรี ) วัดพระปฐมเจดีย์

พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ ฐิตสทฺโธ ( ผูก จันทราศรี ) วัดพระปฐมเจดีย์

 
 
 
 
ประวัติโดยสังเขป
 
 
         พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ หรือที่ชาวบ้านตำบลพระปฐมเจดีย์รู้จักท่านในนามหลวงลุงผูก ท่านเป็นพระนักปฏิบัติและมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ในชีวิตของท่านสร้างแต่คุณงามความดี ไม่เคยสร้างความเดือนร้อนให้แก่สังคม ไม่เคยสร้างความเสื่อมเสียให้แก่พระพุทธศาสนา ท่านเป็นพระนักพัฒนา ช่วยเหลือสังคม และบำเพ็ญกรณียกิจต่างๆ เป็นอเนกประการอันเป็นคุณประโยชน์แก่วัดพระปฐมเจดีย์ พระพุทธศาสนา ทางราชการโดยการรับราชการเป็นทหารผ่านศึกในสงครามอินโดจีน และสาธารณะประโยชน์อื่นๆ เช่น
          ก่อสร้างพระอุโบสถ ๓ แห่ง
          ๑. วัดน้อยเจริญสุข อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
          ๒. วัดสุขวราราม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
          ๓. วัดคีรีวงศ์ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
          สำหรับวัดพระปฐมเจดีย์ ก่อสร้างเมรุวัดพระปฐมเจดีย์ สร้างศาลาบำเพ็ญกุศล และสร้างกุฏิเสนาสนะสงฆ์
          หลังจากที่หลวงลุงพ้นจากราชการทหาร ด้วยจิตใจที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดพระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๙ โดยตั้งใจอย่างแนวแน่ว่าจะขอตายในผ้าเหลือง หลวงลุงผูกท่านเป็นพระที่เปี่ยมด้วยเมตตา ท่านจึงเป็นที่นับถือ รักใคร่ ต่อผู้พบเห็นไม่ว่าท่านนั้นจะสูงวัยกว่าหรืออ่อนวัยกว่าก็ตาม ด้วยบุคลิกที่ท่านเป็นคนอารมดี ใจเย็น จึงเป็นที่รักใคร่ของครูบาอาจารย์ ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อบุญธรรม ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ของท่าน หลวงพ่อบุญธรรมให้ความรักและเมตตาหลวงลุงผูกเป็นอันมาก ดังนั้นวิชาอาคมต่างๆ ของหลวงพ่อบุญธรรมที่สืบทอดมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ได้ถ่ายทอดให้หลวงลุงผูก จนหมดสิ้น ไม่ว่าการเขียนผง การลงอักขระยันต์สำคัญต่างๆ เช่น ยันต์เกราะเพชร นอกจากนี้หลวงลุงผูกยังได้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับพลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา  หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
          หลวงลุงผูกท่านเป็นพระที่คมในฝัก นอบน้อมถ่อมตน ไม่โอ้อวดว่าท่านมีอะไรดี ท่านจะไม่แสดงออก แต่เพรชก็ย่อมเป็นเพชรอยู่วันยังค่ำ ดังนั้นในบรรดาศิษย์ของท่านย่อมทราบดีว่าพระเครื่องของท่านมักแสดงปาฏิหารย์ให้ปรากฎเสมอ โดยเฉพาะชาวตลาดบนและตลาดล่างให้ความเคารพนับถือหลวงลุงผูกและเชื่อมั่นในพระเครื่องของท่านว่าดีทางเมตตามหานิยม โชคลาภและดีทางค้าขาย พระเครื่องของหลวงลุงผูกท่านสร้างแต่ละรุ่นเป็นจำนวนน้อย(หลักร้อยไม่เกินหลักพัน) ดังนั้นพระเครื่องของท่านจึงอยู่ในมือศิษย์ของท่านเท่านั้น ไม่มีโอกาสจะตกมาอยู่ในมือของบุคคลภายนอก อย่างเช่น เหรียญรุ่นแรกปี พ.ศ.๒๕๑๒สร้างจำนวน ๒๕๑๒ เหรียญ เหรียญส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือศิษย์ของท่านเพียงไม่กี่คนเท่านั้น(บางคนบูชาเป็นร้อยเหรียญหรือหลายร้อยเหรียญ) หลวงลุงผูกท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าวิชาอาคมรูปหนึ่ง แม้แต่หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอมก็ยอมรับนับถือว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าวิชาอาคม หลวงพ่อแช่มจะกำชับลูกศิษย์ของท่านว่าในพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องพระบูชาของวัดดอนยายหอม ต้องนิมนต์หลวงลุงผูกร่วมปลุกเสกทุกครั้ง นอกจากหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอมจะให้ความนับถือหลวงลุงผูกแล้ว หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระยังให้ความนับถือหลวงลุงผูกเหมือนกันจะเห็นได้จากพิธีพุทธาภิเษกวัดบางพระจะต้องนิมนต์หลวงลุงผูกร่วมพิธีเสมอ หลวงลุงผูกท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมยุคสมัยกับหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม หลวงพ่อพูน วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้ หลวงพ่อเต๋า วัดเกาะวังไทร หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์คลื่นลูกใหม่ หลังจากสิ้นยุคหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม และหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
          ในสมัยที่หลวงลุงผูกมีชีวิตอยู่ท่านได้สร้างพระเครื่องพระบูชาหลายรุ่น พระเครื่องของท่านนอกจากท่านจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ท่านยังได้นำพระเครื่องของท่านไปให้หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอมและหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลาปลุกเสกเป็นการส่วนตัว นอกจากนี้ท่านยังได้นำพระเครื่องของท่านเข้าพิธีพุทธาภิเษกสำคัญๆ ของวัดพระปฐมเจดีย์และวัดอื่น ๆที่ท่านได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมปลุกด้วย ซึ่งในพิธีดังกล่าวจะนิมนต์พระเกจิอาจารย์ดังๆ มาร่วมปลุกเสกเสมอ เช่น หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร และ หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง ดังจะเห็นได้จากเหรียญรุ่นแรกของหลวงลุงผูก ที่สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เหรียญรุ่นแรกนี้นอกจากหลวงลุงผูกจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ท่านยังได้นำเหรียญรุ่นนี้เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระปฐมเจดีย์ ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ซึ่งเป็นพิธีเสาร์ ๕ และในพิธีนั้นมีพระเกจิอาจารย์ดังๆ ร่วมปลุกเสกเป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เหรียญรุ่นแรกนี้มีสองเนื้อ คือ เนื้อทองแดงและเนื้ออาปาก้า จำนวนการสร้างทั้งหมด ๒,๕๑๒ เหรียญ เหรียญทองแดงมีจำนวนมากกว่าเหรียญอาปาก้า ท่านเป็นพระที่มีใจเด็ดเดี่ยวตั้งใจจริง ทำอะไรก็ทำจริงๆจังๆ การสร้างพระเครื่องของหลวงลุงผูกท่านจะสร้างด้วยความตั้งใจ ท่านมักจะกล่าวกับศิษย์ใกล้ชิดเสมอว่าการสร้างพระต้องทำให้ขลัง ดีข้างนอกดีข้างใน จะได้เป็นศิริมงคลแก่ตัวเองเมื่อบูชาติดตัว พระเครื่องของท่านจึงปลุกเสกนานไม่น้อยกว่า ๒ พรรษา และนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกหลายครั้ง จนมั่นใจว่ามีพุทธานุภาพจึงนำแจกแก่ศิษย์ พระเครื่องของหลวงลุงผูกขณะนี้ราคายังไม่สูงนัก(หลักร้อย) ถ้าท่านผู้อ่านมีโอกาสพบเห็นก็เช่าบูชาไว้ ของท่านดีจริงๆ จัดอยู่ประเภทของดีราคาถูก
          ประสบการณ์
          เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2556 ผู้เขียนได้บูชาพระบูชารูปเหมือน 5 นิ้วรุ่นแรกในราคา 1,800 บาท และรูปหล่อเหมือนโบราณเนื้อเงินรุ่นแรกในราคา 1,000 บาท เพราะเห็นว่าราคาถูก เมื่อพิจารณาเนื้อหาของพระบูชารูปเหมือน 5 นิ้วรุ่นแรกว่าเป็นเนื้อทองผสมคล้ายเนื้อนวโลหะกลับดำ ซึ่งเป็นเนื้อที่สูงมาก ปัจจุบันถ้าจะสร้างเนื้ออย่างนี้ ต้องบูชาองค์ละไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนพระรูปหล่อโบราณเนื้อเงินคงไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท เพราะน้ำหนักเนื้อเงินร่วม 2 บาท เมื่อบูชามาแล้วผู้เขียนได้ขอบารมีของหลวงพ่อผูกให้ช่วยขายที่ดินแปลงหนึ่งของผู้เขียน ซึ่งเป็นที่ตาบอด (ไม่มีทางออกสู่สาธารณะ) และเป็นที่นา เป็นที่ดินที่ผู้เขียนได้บอกขายมาเป็นเวลานานถึงสิบปี และที่ดินนี้ก็ขายได้ในราคาสูง ในเดือน พฤษภาคม 2556 และผู้ซื้อก็ไม่ใช่นายทุนแต่เป็นชาวนาที่มีที่ดินติดกัน ผู้เขียนยังไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะความบังเอิญหรือเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อผูก ผู้เขียนเลยขอทดสอบอีกครั้งโดยขอโชคลาภจากหลวงพ่อผูกอีกครั้ง ผู้เขียนก็ถูกรางวัลสลากออมสินงวดประจำเดือนกรกฎาคมรางวัลที่สองเป็นเงิน 100,000 บาท ในชีวิตผู้เขียนไม่เคยถูกรางวัลใดๆ เลย เรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้เขียนก็ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อ่านว่าเป็นความบังเอิญหรือเพราะบารมีของหลวงพ่อผูก



 
จมหมายแจ้งการถูกรางวัลของธนาคารออมสิน
 
 
 
ใต้ฐาน รูปเหมือนบูชาพระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ ๕ นิ้ว รุ่นแรก
 
 

 
เหรียญรุ่นแรก เนื้ออาปาก้า
 

 
 
 

 
รูปเหมือนหล่อโบราณลอยองค์รุ่นแรก (พิมพ์นิยม) เนื้อเงิน หลวงพ่อผูก 
สร้างพร้อมรูปเหมือนบูชารุ่นแรก ปี พ.ศ.2537
 
 
 



 
รูปเหมือนหล่อโบราณลอยองค์รุ่นแรก (พิมพ์นิยม)  เนื้อนวโลหะ หลวงพ่อผูก 
สร้างพร้อมรูปเหมือนบูชารุ่นแรก ปี พ.ศ.2537
 
 
 
 

 
รูปเหมือนหล่อโบราณลอยองค์รุ่นแรก (พิมพ์นิยม)  เนื้อทองเหลือง หลวงพ่อผูก 
สร้างพร้อมรูปเหมือนบูชารุ่นแรก ปี พ.ศ.2537
 
 

 

 
 
 
 
 
สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114
 
 
เหรียญรุ่นแรก หลวงลุงผูก ปี พ.ศ. 2512 
สุพล 081-0434114

 
 
เหรียญรุ่นแรก หลวงลุงผูก ปี พ.ศ. 2512



ที่มา : https://skeereewichien.blogspot.com/2013/05/blog-post.html?m=1
สอบถาม